Bangkok
Out of Door
What does Bartok - a Hungarian composer and musicologist whose works
are one of the most important of the 20th century - have to do with Bangkok?
Bangkok Out of Doors เป็นโปรเจ็คที่เชื่อมโยงระหว่างโลกของคีตกวีต่างชาติเข้ากับกรุงเทพฯ โดยใช้การตัดต่อวิดีโอเป็นสื่อ
แม้จะกำเนิดในกรุงเทพฯ แต่ข้าพเจ้าใช้เวลาช่วงวัยเด็กในจังหวัดปริมณฑลที่ยังคงล้อมรอบด้วยธรรมชาติ ตัวบ้านนั้นขนาบข้างด้วยลำคลอง ถัดออกไปคือแนวไผ่สูงลิ่วและหนองบึง ประชากรที่อยู่บริเวณใกล้เคียงมักเป็นชุมชนเล็กๆ ไม่ใช่หมู่บ้านจัดสรรเหมือนในปัจจุบัน ข้าพเจ้าใช้เวลาส่วนใหญ่ในบ้านหลังนั้นไม่ค่อยได้ออกไปไหน ทำให้ข้าพเจ้าคุ้นเคยกับธรรมชาติ (ซึ่งรวมถึงตั้งแต่สายลม เสียงไผ่ลั่น ตลอดจนสิงสาราสัตว์ประดามี) เมื่อข้าพเจ้าโตขึ้นจำเป็นต้องย้ายมาอาศัยในกรุงเทพฯ และกว่า 6 ปีที่อาศัยอยู่ข้าพเจ้าไม่ใคร่จะชอบที่นี่นัก
เมื่อต้องใช้ชีวิตในฐานะ ”คนกรุงเทพฯ” ข้าพเจ้าจึงมีอะไรให้พูดถึงเมืองหลวงแห่งนี้ค่อนข้างมาก หลังจากศึกษาบทเพลง Out of Doors ของเบล่า บาร์ตอก ข้าพเจ้าพบว่า บาร์ตอกให้ความสำคัญกับโลกภายนอกมาก เขาไม่ได้เพียงแค่ตระเวณไปทั่วแคว้นฮังการี โรมาเนียและสโลวัคเพื่อบันทึกดนตรีพื้นเมืองเท่านั้นแต่ยังเชื่อมั่นในภราดรภาพและความเชื่อมโยงกันของมนุษย์โดยเฉพาะในหมู่ชาวชนบท ทำให้เขาสร้างสรรค์ผลงานดนตรีที่เป็นเอกลักษณ์และผสมผสานองค์ประกอบของหลากหลายวัฒนธรรม ข้อดังกล่าวเป็นแรงบันดาลใจที่จะเชื่อมโยงโลกของบาร์ตอกเข้ากับโลกของข้าพเจ้าซึ่งก็คือกรุงเทพฯเพื่อเพิ่มบริบทให้กับการแสดงบทเพลงดนตรีคลาสสิคและทำให้เป็นการแสดงที่บอกเล่าประสบการณ์ส่วนตัวได้ด้วย
In the Mist และ Ballade คือโลกที่ข้าพเจ้าจากมา และ Out of Doors คือโลกที่ข้าพเจ้ากำลังอาศัยอยู่ ทั้งห้าท่อนถูกตีความดังนี้
-
With Drum and Pipes: ภาพรวมของกรุงเทพฯ ซึ่งประกอบด้วยเสียง “กลองและปี่” ในแบบฉบับของกรุงเทพฯ
-
Barcarolla: นิราศสมัยใหม่ สะท้อนให้เห็นถึงสภาพแวดล้อมในทัศนะของข้าพเจ้า
-
Musettes: การล้มหายของวัฒนธรรมชุมชนโดยใช้ปี่ Musette ที่ลดบทบาททาวัฒนธรรมป็นสัญลักษณ์
-
The Night’s Music: ยามค่ำคืนของกรุงเทพฯ
-
The Chase: สภาพจิตใจของผู้ที่ต้องเดินทางในกรุงเทพฯ
Bangkok Out of Doors is a experimental project aim at finding connections between Bela Bartok's piano composition Out of Doors and the city Bangkok in which I live in.
I spent my childhood in a suburb still surrounded by nature. Alongside the house I lived was a small canal. Next to it was a hedge of tall bamboo. Out side of this lay a local community, unlike housing development of today. Therefore, I was quite used to nature (which includes the wind, sound of bamboo shrieking and all animal both harmless and venomous.) I had to move to Bangkok later; and I don’t quite enjoy the six years of living here.
Living as a “Bangkokian”, I have many thing to speak about this city. After had learnt Bela Bartók’s Out of Doors, I discovered that Bartók held connection with the outer world very high. He didn’t only traveled throughout Hungary, Romania and Slovak in order to record folk music, but also believed in brotherhood among people especially the peasant; thus Bartók produced works of eclecticism and uniqueness. I was inspired by that point to connect Bartók’s world with mine, which is Bangkok, so as to provide a context for the piece and a more personal performance that infuses with personal experience.
In the Mists and Ballade is the world I left while Out of Doors is the world I live in. The 5 movements are interpreted as following -
-
With Drum and Pipes: Overview of Bangkok which consists of its own “drums & pipes”
-
Barcarolla: Modern Nirat reflecting places in my perspective
-
Musettes: Using a Musette and its decline in popularity as symbol of dwindling local culture in Bangkok.
-
The Night’s Music: Nocturnal scene of Bangkok
-
The Chase: the psychology of travelers in Bangkok
Bela Bartok:
Out of Doors (Szabadband)
1926
“ฉันเชื่อมั่นและขอประกาศว่าศิลปะที่แท้จริงนั้นล้วนมาจากความประทับใจ หรือ ‘ประสบการณ์’ ซึ่งเรารับมาจากโลกภายนอก”
จดหมายจากบาร์ตอกถึง Marta Ziegler และน้องสาว Hermina วันที่ 4 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1909
ปีค.ศ. 1926 เป็นปีที่บาร์ตอกประพันธ์ผลงานสำคัญๆ สำหรับเปียโนไว้เป็นจำนวนมาก เช่นเปียโนคอนแชร์โตหมายเลข 1 เปียโนโซนาต้า ชุดเก้าเพลงสั้น และ Out of Doors (กลางแจ้ง) ต่างจากผลงานในระยะแรกที่ใช้ทำนองเพลงพื้นบ้านอย่างเด่นชัด ผลงานนี้ราวกับต้องการสื่อถึงลักษณะและจิตวิญญาณของวัฒนธรรมชนบทที่เป็นนามธรรมมากกว่า Out of Doors มีทั้งหมด 5 ท่อนได้แก่ With Drum and Pipes (ด้วยเสียงกลองและปี่) Barcarolla (เพลงชาวเรือ) Musettes (ปี่ตระกูลปี่สก็อต) The Night’s Music (ดนตรีแห่งราตรีกาล) and The Chase (การไล่ล่า)
With Drum and Pipes เปิดด้วยเสียงที่กระแทกกระทั้นคล้ายเสียงกลองโดยใช้โน้ตที่ต่ำที่สุดของเปียโน ในตอนกลางเปลี่ยนไปใช้ช่วงเสียงที่สูงขึ้นและมีทำนองมากขึ้นเพื่อเลียนเสียงของเครื่องลมไม้
ในปีค.ศ. 1921 บาร์ตอกอาศัยในอพาร์ตเมนต์ติดแม่น้ำดานูบในกรุงบูดาเปสต์ ซึ่งอาจจะเป็นแรงบันดาลใจให้แต่งเพลง Barcarole (สะกด Barcarolla ในที่นี้) ซึ่งเป็นเพลงชาวเรือที่มีจุดกำเนิดในกรุงเวนีซ Barcarole ของบาร์ตอกที่ปรากฏในทั้ง Out of Doors และชุดเพลงสำหรับเปียโน Mikrokosmos (No. 125 Book IV) นั้นมีเอกลักษณ์คือจังหวะและทำนองที่ซับซ้อน
Musette เป็นเครื่องดนตรีในตระกูลของปี่สก็อตซึ่งพบในรอบๆ ทวีปยุโรปเช่น Duda ของชาวฮังกาเรียน Cimpoi ของชาวโรมาเนียน และ Gaidy ของชาวเช็คและสโลวัค ซึ่งทั้งสามเป็นกลุ่มวัฒนธรรมดนตรีที่บาร์ตอกศึกษา ท่อนนี้มีการใช้เสียงกระด้างในคู่ 5 เพื่อเลียนเสียงของปี่ที่เพี้ยนเล็กน้อย ยิ่งไปกว่านั้นยังมีความไม่แน่นอนและหุนหันโดยที่บาร์ตอกกำหนดไว้ในบางตอนนว่า ”เล่นสองหรือสามครั้งก็ได้ตามแต่ปรารถนา” ซึ่งเป็นลักษณะที่มีความคล้ายคลึงกับบทเพลงของชาวชนบท
ลูกชายของบาร์ตอกกล่าวว่าบาร์ตอกสนใจในธรรมชาติมาก เขามักจะเก็บสะสมตัวอย่างแมลงและผีเสื้อ The Night’s Music นอกจากจะเป็นชื่อของบทเพลงแล้วยังหมายถึงแนวการแต่งเพลงที่ปรากฏในผลงานช่วงหลังของบาร์ตอกเช่นในเปียโนคอนแชร์โตและสตริงควอเต็ต มีเอกลักษณ์คือการใช้ Cluster Chord เป็นพื้นหลังประกอบกับทำนองสั้นๆ ที่มีชีวิตชีวา เป็นการสื่อถึงกลางคืนที่เต็มไปด้วยการเคลื่อนไหวของสรรพสัตว์ ท่อนนี้ไดรับแรงบันดาลใจจากตอนที่บาร์ตอกพักอยู่ที่ Szőllőspuszta ณ ที่ราบลุ่มของฮังการี มีการเลียนเสียงของแมลงและแว่วทำนองคล้ายเพลงพื้นบ้าน
The Chase สื่อถึงการไล่ล่าที่ไม่หยุดหย่อน โดยมีมือซ้ายที่ขับเคลื่อนไปข้างหน้าอย่างต่อเนื่องประกอบกับทำนองอันเร่งเร้าของมือขวา การไล่ล่านี้นำ Out of Doors จบลงด้วยความตื่นเต้น
ข้าพเจ้ามองว่าเพลงนี้สะท้อนให้เห็นถึงประสบการณ์ส่วนตัวของบาร์ตอกโดยเฉพาะช่วงที่กำลังศึกษาเพลงพื้นบ้าน เป็นเพลงที่สนุกมากๆ ทั้ง 5 ท่อนแตกต่างกันทั้งเรื่องราวและลักษณะดนตรีแต่กลับเสริมกันได้อย่างลงตัว การเล่นเพลงนี้ทำให้ข้าพเจ้าเข้าใจผลงานเปียโนของบาร์ตอก ที่ตัวเขาเองกล่าวว่า “มีแต่เนื้อ” ซึ่งข้าพเจ้าเห็นด้วยเพราะเป็นดนตรีที่แทบไม่มีการประดับประดา แต่ละท่อนใช้องค์ประกอบทางดนตรีไม่มากทว่าแทบจะกลั่นออกมาอย่างเข้มข้น เหนือกว่าสิ่งอื่นใดข้าพเจ้ายินดีมากที่มีโอกาสได้บรรเลงบทเพลงนี้ ผู้ฟังบางท่านอาจจะไม่ค่อยเข้าใจ Out of Doors เพราะมีสำเนียงที่ “แตกต่าง” จากดนตรีที่คุ้นเคยเล็กน้อย ในกรณีนั้นข้าพเจ้าแนะนำให้จินตนาการถึงเรื่องราวระหว่างฟังและให้แต่ละท่อนนำท่านไปสู่บทใหม่ สุดท้ายข้าพเจ้าอยากบอกว่าดนตรีนี้มีระบบแบบแผนและทำลายสุขภาพน้อยกว่าเสียงบนท้องถนนของกรุงเทพฯ เสียอีก
“I strongly believe and profess that every true art arises under the influence of impressions —‘experiences’— which we gather from the external world.”
Bartók to his future first wife Marta Ziegler and her sister, Hermina, February 4, 1909,
Bartók produced many substantial piano compositions in 1926 - Piano Concerto No. 1, Piano Sonata, Nine Little Pieces, and Out of Doors (Szabadban). Unlike many of his earlier works, Out of Doors doesn’t include explicit folk melody, but rather a reference to the abstract idea or spirit of the rural culture. This composition consists of five movements: With Drum and Pipes, Barcarolla, Musettes, The Night’s Music, and The Chase.
With Drum and Pipes marks the opening of the suite with percussive sound, using the lowest notes of the piano conveying the sound of percussion. In the middle section music moves to higher register with more melody depicting wind instruments which alternates back to fiery percussive coda.
In 1921, Bartók lived in an apartment next to the Danube in Budapest. This might inspire him to write this Barcarole (or Barcarolla) - a boatman song originated in Venice. Bartók’s Barcarole, as appears in Out of Doors and Mikrokosmos No. 125, Book IV, is characterized by intricate rhythm and melody.
Musette belongs to the family of Bagpipes, which is found throughout Europe; for example, Duda of Hungarian, Cimpoi of Romanian and Gajdy of Czech/Slovak - three sources of focus in Bartók's study of Folk music. This piece features perfect fifth intervals with added dissonance to imitate the sound of slightly-out-of-tuned bagpipe. It is a quite quirky movement. Bartók gave performer a freedom by writing down in some part “due o tre volte ad lib.” or “to play two or three time as desired” which is close to the nature of folk music.
According to his son, Bartók took great interest in nature. When he was young he often collected sample of insects and butterflies. The Night’s Music is not not only the name of the fourth movement of this suite but also the style of composition which appears in late Bartók’s music - Piano Concertos, String Quartets, etc. It is characterized by ostinato clustered chord serving as background to more active burst of melody or motives. This is Bartók’s reflection of a night active with movement of animal in the surrounding. This movement was inspired by Bartók’s stay at his sister’s family home in bucolic Szőllőspuszta in Great Hungarian Plain. It contains prominently the imitation of insect sound and echoing folk-like melody.
The last movement, The Chase, has a relentless character with continuous patterns in left hand and driving melody in right hand. This ferocious pursuit ends Out of Doors with thrill.
I view this composition as a reflection of Bartók’s personal experiences especially during the time he was studying folk music. These 5 movements are very fun to play. They are very different yet complement each other very well. Out of Doors really opened the door to the sound world and ideology of Bartók. The later piano composition of Bartók is what the composer called “to the meat and bone”; which means he moved away from ornate style of the Romantic by using less but condensed material. Above all, it’s a great pleasure for me to perform this piece as I think it should be heard more. Some might find it difficult to grasp due to its dissonant and erratic sound world. In that case, I advise you to just picture or narrate a story in your mind and let each movement take you to different chapter. Lastly, let us remember that this music is much more organized and safer than what we usually hear on the noisy streets of Bangkok.
Performance
Miscellaneous
นี่เป็นการแสดงเดี่ยวครั้งแรกซึ่งข้าพเจ้าได้ใส่ความเป็นตัวเองลงในองค์ประกอบหลายๆ อย่าง แม้จะไม่สมบูรณ์แบบแต่ข้าพเจ้าก็ได้รู้จักความสามารถของตนและหนทางพัฒนาตน ส่วนบทเพลงที่เลือกมาแสดงนั้นคงให้เวลาเติบโตไปพร้อมกับข้าพเจ้าและนำกลับมาเล่นเรื่อยๆ เพื่อที่จะได้ "เข้าเนื้อ" วิดิโอที่นำมาประกอบนั้นพอใจทีเดียว เพราะแม้ในขณะแสดงข้าพเจ้าจะไม่มีโอกาสได้คำนึงถึงวิดิโอเลยแต่กลับเชื่อมโยงกับการบรรเลงได้อย่างน่าเหลือเชื่อ ผู้ชมจำนวนหนึ่งชื่นชอบผลงานวิดิโออีกด้วยซึ่งข้าพเจ้ามองว่าเป็นความสำเร็จเล็กๆ ก็ว่าได้ โดยรวมแล้วข้าพเจ้าพอใจกับภาพรวม ในส่วนของ sound scape ที่ทำหน้าที่ต่าง intermission นั้นสามารถพัฒนาในเรื่องการตัดต่อและเทคนิค ในโอกาสหน้าอยากลองจัดการแสดงที่ทำงานกับสัมผัสด้านอื่นนอกจากการมองเห็น เช่นโสตสัมผัสและการรับรู้พื้นที่
This is my first piano recital and I put a lot of myself into this event. It's not a perfect performance but after all I know what I'm capable of and how to improve myself furthermore. Regarding the pieces I choose, I'll definitely revisit them as they grom together with me. I'm quite pleased with video. I couldn't give any attention to it while performing and yet it synchronized with my playing surprinsingly well. Some audiences praised my video and I regard that as a little bit of success. Generally I'm quite pleased. Nonetheless, sound scape in the middle could be improved in editting and technical asoect. In the next occasion I'd like to experiment more with other element such as audio experience and space.
All Videos
Reference
สุจิตต์ วงษ์เทศ. ดนตรีไทย มาจากไหน?. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์วิทยาลัยดุริยางคศิลป์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2010.
Bartók Archives of the Hungarian Academy of Sciences Institute for Musicology. "Bartok Virtual Exhibition." [2004 - 2005]. http://www.zti.hu/bartok/ exhibition/en_/TOC.html. Retrieved 5 March 2018.
About Me
เขตสิน จูจันทร์เกิดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม พ.ศ. 2540 และเริ่มเรียนเปียโนเมื่ออายุ 8 ปีกับอาจารย์เสาวลักษณ์ ไมตรีจิตต์ ในปีพ.ศ. 2558 เขตสินเข้าศึกษาในระดับปริญญาตรีด้านการแสดงเปียโน ณ สถาบันดนตรีกัลยาณิวัฒนาโดยได้ศึกษาเปียโนกับอาจารย์ Frank Reich และปัจจุบันกับอาจารย์ Elissa Miller-Kay เขตสินเข้าร่วมกิจกรรมทางดนตรีและวิชาการในหลายโอกาส เช่นการแสดงโครงการพัฒนานักศึกษาสู่วิชาชีพด้านดนตรีภาคการศึกษา 2558 การเสนอผลงานวิชาการใน PGVIM International Symposium 2016 และ 2017 โครงการ SEADOM Congress 2017 กิจกรรมดนตรีสร้างสรรค์ ‘สานฝันปันดนตรี’ ณ อำเภอกัลยาณิวัฒนา จังหวัดเชียงใหม่ และเข้าร่วม Masterclass กับนักเปียโน อาทิ Jacqueline Leung, Martin Widmaier และ Tomasz Herbut
นอกจากดนตรีแล้ว เขตสินสนใจการถ่ายรูป การเขียน บทกวีและชีววิทยา
Khetsin Chchan was born on 3 December 1997 and started learning piano at the age of eight with Aj. Saowalak Maitrechitt. In 2015 he enrolled in Bachelor of Music program at Princess Galyani Vadhana Institute of Music (PGVIM) where he studied piano with Frank Reich and now with Elissa Miller-Kay. At PGVIM Khetsin has participated in various music and academic activities - academic presentations at PGVIM International Symposium 2016/2017, student project at SEADOM Congress 2017, creative project at Kalayani Vadhana District, Chiangmai, etc. - and also masterclasses with pianists such as Jacqueline Leung, Martin Widmaier and Tomasz Herbut
Apart from music, Khetsin is interested in photography, writing, poetry and biology.